ฝ่ายวิชาการมีหน้าที่ในการพัฒนาครูผู้สอนให้มีความรู้ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้และจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มุ่งพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนสู่มาตรฐานคุณภาพระดับสากล มีคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ จึงแบ่งการบริหารออกเป็น 8 งาน ได้แก่ งานบริหารฝ่าย งานหลักสูตร งานการเรียนการสอน งานนิเทศการสอน งานส่งเสริมวิชาการ งานแนะแนว งานทะเบียนวัดผลและงานห้องสมุด โดยมีรายละเอียดของภาระงานและความรับผิดชอบดังนี้
 
1. งานบริหารฝ่าย
 
เป็นงานที่หัวหน้าฝ่ายวิชาการ วางแผน บริหารจัดการ และการดำเนินงานร่วมกับคณะกรรมการ บริหารงานหลักสูตรและงานวิชาการ เพื่อนำนโยบาย แผนปฏิบัติงานไปปฏิบัติให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีรายละเอียดงานดังต่อไปนี้
 
    1.1 ประชุมวางแผนทั้งระยะสั้นและระยะยาวให้สอดคล้องกับงบประมาณตามแผนพัฒนาโรงเรียน ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
    1.2 ส่งเสริมและสนับสนุนในการพัฒนาบุคลากร ให้มีประสิทธิภาพในการทำงาน
    1.3 นิเทศติดตามและประเมินผลในการดำเนินงาน อย่างเป็นระบบ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและมีการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่
         ของบุคลากรที่ชัดเจน
    1.4 ประสานงานในการปฏิบัติหน้าที่ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
    1.5 จัดการข้อมูลสารสนเทศ อย่างเป็นระบบ และทันต่อการใช้งาน
 
2. งานหลักสูตร ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาคุณภาพทางวิชาการ ของโรงเรียน เพราะการที่ครูผู้สอนจะนำหลักสูตรไปใช้
ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ครูผู้สอนจะต้องรู้หลักสูตร รู้จุดมุ่งหมายของหลักสูตร รู้จักวิธีการวิเคราะห์หลักสูตร รู้จักแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน งานหลักสูตรประกอบด้วย
 
    2.1 ศึกษา วิเคราะห์เอกสารหลักสูตร และข้อมูล ที่ดำเนินการต่อการพัฒนาหลักสูตร
    2.2 วิเคราะห์สภาพแวดล้อม และประเมินสถานภาพของสถานศึกษา เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ
    2.3 ศึกษาวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด
    2.4 ประสานงานและจัดทำโครงสร้างของหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 
    2.5 กำกับติดตามให้คุณครูนำหลักสูตรไปใช้
    2.6 ประเมินการใช้หลักสูตรเพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงหลักสูตรให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น
    2.7 ปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร
    2.8 จัดทำสารสนเทศเพื่อเป็นข้อมูลและประโยชน์ในการบริหารจัดการหลักสูตร
 
3. งานการเรียนการสอน การสอนของครูจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดขึ้น ครูจะต้องเรียนรู้เทคนิคและวิธีการสอนจะต้องวางแผน
เตรียมการสอนเป็นอย่างดี พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้ทันสมัยและสอดคล้องกับเนื้อหา พัฒนาระบบการสอนให้มีความทันสมัย เหมาะสมกับผู้เรียน งานการเรียนการสอนประกอบด้วย
 
    3.1 จัดทำประมวลการสอนรายวิชา
    3.2 จัดทำแผนการเรียนรู้และบันทึกหลังการสอน
    3.3 ออกแบบกระบวนการเรียนรู้และจัดกระบวนการเรียนรู้
    3.4 จัดตารางสอน
    3.5 ประสานหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้เพื่อการบริหารจัดการกลุ่มสาระ
 
4. งานนิเทศการสอน การนิเทศการสอน เป็นกระบวนการจัดบริหารการศึกษา เพื่อให้การชี้แนะ ช่วยเหลือ และความร่วมมือกับครู และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอน เพื่อปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครู อันจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดแก่ผู้เรียน มีการจัดดำเนินการดังนี้
 
    4.1 จัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมและปฏิทินปฏิบัติงาน 
    4.2 จัดระบบการนิเทศงานวิชาการ และการเรียนการสอนภายในสถานศึกษา 
    4.3 ประสานงานการนิเทศงานวิชาการและการเรียนการสอนในรูปแบบหลากหลายและเหมาะสมกับสถานศึกษา 
    4.4 ประสานงานให้กลุ่มสาระการเรียนรู้มีการนิเทศการสอนแบบกัลยาณมิตร 
    4.5 กำกับ ติดตาม การดำเนินงานของบุคลากรในกลุ่มงาน 
    4.6 ให้ข้อเสนอแนะ และข้อคิดเห็นในการพัฒนางานของสถานศึกษา 
    4.7 นิเทศ ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการปฏิบัติงานเมื่อสิ้นภาคเรียนและสิ้นปีการศึกษา 
    4.8 ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
 
5. งานส่งเสริมวิชาการ เป็นงานที่ส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการให้บรรลุตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ตามเนื้อหาหลักสูตรในห้องเรียนยังไม่เพียงพอสำหรับการพัฒนาด้านคุณภาพวิชาการ ดังนั้น งานส่งเสริมวิชาการจึงมีส่วนสำคัญมาก
ที่จะทำให้นักเรียนเป็นบุคคลที่ได้รับการพัฒนาทั้งครบ งานส่งเสริมวิชาการประกอบด้วย
 
    5.1 การจัดป้ายนิเทศ 
    5.2 สนับสนุนการจัดทำสื่อการเรียนการสอน
    5.3 จัดชุมนุมส่งเสริมวิชาการ
    5.4 ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้และบรรยากาศการเรียนรู้ 
    5.5 ส่งเสริมสนับสนุนนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันต่างๆ
    5.6 ส่งเสริมสนับสนุนนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันต่างๆ
 
6. งานทะเบียนวัดผล งานทะเบียนวัดผลเป็นงานที่สามารถให้ข้อมูลมาพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะตามเป้าหมายของหลักสูตร เพราะการวัด และประเมินผล จะทำให้ครูผู้สอนสามารถรู้ถึงการพัฒนาของนักเรียนว่ามีความรู้ความสามารถตามที่หลักสูตรกำหนดให้หรือไม่ ดังนั้นงานวัดและประเมินผลจึงมีความละเอียดอ่อน มีกระบวนการในการทำงานมากพอสมควรและจะต้องอาศัยข้อมูลประกอบในการพิจารณา
หลาย ๆวิธีการ ซึ่งประกอบด้วยงานต่าง ๆ ดังนี้ี้
 
    6.1 จัดทำแผนงาน  โครงการ   กิจกรรม และปฏิทินปฏิบัติงานของงานวัดผล และประเมินผลทางการศึกษา 
    6.2 กำหนดระเบียบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการวัดผลและประเมินผลของสถานศึกษา 
    6.3 ให้ความรู้เกี่ยวกับงานวัดผลและประเมินผลการเรียนแก่ครู  นักเรียน และผู้ปกครอง 
    6.4 พัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลให้ได้มาตรฐาน 
    6.5 ประสานงานจัดทำ จัดเก็บข้อสอบ และดำเนินการในการจัดสอบให้เป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการวัดผลและประเมินผลทางการศึกษา 
    6.6 ดำเนินการเกี่ยวกับงานวัดผลและประเมินผลการเรียนตามระเบียบว่าด้วยการวัดผลประเมินผล 
         การเรียนและตามแนวปฏิบัติของสถานศึกษา 
    6.7 จัดทำตารางสอบระหว่างภาค  ปลายภาคเรียนและตารางการสอบแก้ตัว 
    6.8 สำรวจรายชื่อนักเรียนที่มีเวลาเรียนไม่ครบเสนอต่อผู้บริหารสถานศึกษา และประกาศรายชื่อนักเรียนที่ไม่มีสิทธิสอบ 
    6.9 ดำเนินการเกี่ยวกับนักเรียนที่ไม่มีสิทธิสอบ หรือมีผลการเรียนไม่ผ่านเกณฑ์ 
    6.10 ตรวจสอบและรวบรวมแบบบันทึกเวลาเรียนและประเมินผลการเรียนของกลุ่มสาระฯ
    6.11 จัดทำระบบฐานข้อมูลการวัดผลประเมินผลทางการเรียน 
    6.12 รวบรวมผลการเรียนทุกรายวิชาของนักเรียน และบันทึกผลในแบบรายงานการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเป็นรายบุคคล (ปพ.6) 
    6.13 ดำเนินการประกาศผลการสอบปลายภาคและการสอบแก้ตัว 
    6.14 ประสานงานกับครูที่ปรึกษาในการรายงานผลการเรียนให้ผู้ปกครองนักเรียนรับทราบ 
    6.15 จัดทำข้อมูล  สถิติ  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนแยกตามระดับชั้นและกลุ่มสาระการเรียนรู้เพื่อเป็นข้อมูล
           ในการประชาสัมพันธ์และการพัฒนา 
    6.16 ดูแลและประสานงานกับครูผู้สอนและครูที่ปรึกษาในการสรุปผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์  การประเมินการอ่าน  
          การคิดวิเคราะห์ และการเขียนสื่อความ  การประเมินกิจกรรมสาธารณประโยชน์ของนักเรียน 
    6.17 จัดทำหลักฐานผลการเรียนของนักเรียนทุกระดับชั้น และรายงานผลการเรียนของนักเรียนส่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 
    6.18 จัดทำและตรวจสอบค่า GPA และ PR ของนักเรียน 
    6.19 จัดเทียบโอนความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และผลการเรียนจากสถานศึกษาอื่น ตามแนวทางที่หน่วยงานต้นสังกัดกำหนด 
    6.20 ติดตามประเมินผล และสรุปรายงานผลการดำเนินงานของงานวัดผลและประเมินผลการเรียน 
    6.21 ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
 
7. งานแนะแนว กิจกรรมแนะแนวเป็นกระบวนการป้องกัน ปรับปรุงแก้ไข หรือพัฒนา และส่งเสริมนักเรียนเป็นรายบุคคลหรือกลุ่ม โดยมุ่งให้สามารถจัดการกับชีวิตของตนเองได้ตามความถนัด ความสนใจ และความ สามารถ บนพื้นฐานของความแตกต่างระหว่างบุคคล และความเชื่อที่ว่าทุกคนมีคุณค่า สามารถพัฒนาให้เจริญงอกงามได้ตามศักยภาพของตน
 
    7.1 งานเก็บรวบรวมข้อมูล
    7.2 งานสารสนเทศ
    7.3 งานให้คำปรึกษา
    7.4 งานจัดวางตัวบุคคลหรือกิจกรรมส่งเสริมช่วยเหลือนักเรียน
    7.5 งานติดตามประเมินผล
 
8. งานห้องสมุด งานห้องสมุด มีหน้าที่และรับผิดชอบงาน โดยมีรายละเอียดของงานดังนี้ี้
 
    8.1 สนับสนุนในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม นอกเหนือจากตำราเรียนและการเรียนการสอน 
    8.2 ส่งเสริมให้ห้องสมุดเป็นแหล่งวิชาการที่สมบูรณ์และมี ประสิทธิภาพ
    8.3 การให้บริการแก่ครู ผู้ปกครอง นักเรียนให้บริการ
    8.4 จัดเก็บข้อมูลการให้บริการ การประชาสัมพันธ์งานของห้องสมุดให้เกิดประสิทธิภาพ
    8.5 จัดหาและสนับสนุนการให้บริการ การค้นคว้าทางอินเตอร์เนต